วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นิราศนรินทร์

นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์"และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่า ในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพร ในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้น วรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลายเนื้อหาของนิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจาก กำสรวลศรีปราชญ์ (ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหู ข้อความกระชับ ลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้

ลิลิตโองการแช่งน้ำ

ลิลิตโองการแช่งน้ำ

ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในรัชสมัย ของสมเด็จรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นเชื้อสาย
ของพระเจ้าสิริชัยเชียงแสนแห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขย
ของพระยาอู่ทอง เมื่อพ. ศ. ๑๘๘๗ ได้เป็นเจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาเกิดโรคระบาด ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่ตำบลหนองโสน แขวงเมืองอโยธยา เมื่อพ.ศ.๑๘๙๓
ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ่ไม่ขึ้นต่อสุโขทัยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นลิลิต คือมีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายดั้นโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงห้า หรือมณฑกคติวรรณคดีเรื่องนี้ใช้อ่านในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จนถึงพ.ศ.๒๔๗๕

เรื่องย่อ
เริ่มต้นด้วยร่ายโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า
และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลก แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้า
มาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจเป็นพยาย ลงโทษผู้คิดคนทรยศต่อ
พระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ทั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ตอนจบเป็นร่าย
ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระเจ้าแผ่นดิน


ที่มา : ประวัติวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยและอยุธยา ของเสนีย์ วิลาวรรณ

ลองดูmovie maker ของเราน้า

movie maker

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบ100ข้อจ้า

http://www.bcoms.net/test_online/view.asp

ผักต้านมะเร็ง

กินผักและผลไม้ ป้องกันมะเร็งได้
กินผักและผลไม้ ป้องกันมะเร็งได้ ผลจากการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุชาวอเมริกัน จำนวนถึง 500,000 คน ยืนยันหลักฐานหนักแน่นยิ่งขึ้นว่า คำแนะนำให้กินผักและผลไม้ เป็นคำแนะนำเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าที่สุด ผลการศึกษาพบว่า แม้แต่เพียงกินผักและผลไม้ให้มากขึ้นอีกวันละ 1 มื้อ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งสมองและคอให้ลดลงได้การศึกษาค้นคว้าที่แล้วๆ มา ล้วนแสดงให้เห็นว่าอาหารเป็นตัวการที่สำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง พวกผู้เชี่ยวชาญปัจจุบันพากันเชื่อแล้วว่า โรคมะเร็งเกือบถึง 2 ใน 3 เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตของตัวเองอย่างเช่นการสูบบุหรี่ การกินอยู่ และขาดการออกกำลัง คณะนักวิจัยของสถาบันป้องกันมะเร็งแห่งชาติ เป็นผู้ศึกษาหญิงชายอเมริกันที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงการกินอยู่ของแต่ละคน แล้วคอยเฝ้าติดตามสถิติการเป็นโรคมะเร็งสมองและคอติดต่อมาอีก 5 ปี โรคมะเร็งสมองและคอเป็นมะเร็งที่มีผู้ป่วยทั่วโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 6 การสูบบุหรี่และกินเหล้ายิ่งทำให้ล่อแหลมกับการเป็นมะเร็งอวัยวะสำคัญนี้ อันรวมถึงปาก จมูก คอ และโพรงอากาศหนักขึ้น การศึกษายังพบด้วยว่า ผู้ที่กินผักและผลไม้วันละ 6 มื้อ จะหนีห่างจากโรคมะเร็งทั้งคู่นี้ได้ถึง 29% หากเทียบกับคนที่กินเพียงวันละมื้อครึ่งเท่านั้น


URL:http://hilight.kapook.com/view/10259

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

avian(ไข้หวัดนก)งานอังกฤษ

Avian and Human Influenza
Since 2003, a devastating epidemic of avian influenza has predominately affected poultry flocks in East Asia-particularly in Vietnam, Thailand, Laos, Cambodia, Indonesia and China.For more information enter the UN Avian and Human Influenza web portal.

สรรพนามสำหรับใช้กับภิกษุน้า งานไทยๆ

สรรพนามบุรุษที่ 1 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้ อาตมา พระภิกษุใช้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีฐานะตำแหน่งสูงในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ อาตมาภาพ พระภิกษุใช้กับพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป และใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา เกล้ากระผม พระภิกษุใช้กับพระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์หรือที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า ผม,กระผม พระภิกษุใช้กับพระภิกษุด้วยกันโดยทั่ว ๆ ไป
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้ มหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดิน บพิตร พระราชวงค์ คุณโยม บิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง คุณ,เธอ ใช้กับบุคคลทั่วไป
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ฆราวาสใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้ พระคุณเจ้า ฆราวาสใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ, รองสมเด็จพระราชาคณะ พระคุณท่าน ฆราวาสใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมา ท่าน ใช้กับพระภิกษุทั่วไป
คำขานรับที่พระภิกษุใช้ คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้ ขอถวายพระพร พระราชวงค์ เจริญพร ฆราวาสทั่วไป ครับ,ขอรับ ใช้กับพระภิกษุด้วยกัน
ศัพท์สำหรับพระภิกษุที่พบบ่อย
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้ รูป ลักษณะนามสำหรับพระภิกษุสงฆ์ อาราธนา ขอเชิญ เจริญพระพุทธมนต์ สวดมนต์ ภัตตาหาร อาหาร ประเคน ยกของ(ด้วยมือ)ให้พระ ฉัน กิน ถวาย มอบให้ เครื่องไทยธรรม ของถวายพระ, ของทำบุญต่าง ๆ อนุโมทนา ยินดีด้วย อาสนะ, อาสน์สงฆ์ ที่นั่ง ธรรมาสน์ ที่แสดงธรรม เสนาสนะ สถานที่ที่ภิกษุใช้ จำวัด นอน สรง อาบน้ำ มรณภาพ ตาย ปลงผม โกนผม กุฏิ เรือนพักในวัด จำพรรษ อยู่ประจำวัด อุปสมบท บวช (บวชเป็นพระภิกษุ) บรรพชา บวช (บวชเป็นสามเณร) ลาสิกขา สึก คิลานเภสัช ยารักษาโรค ลิขิต จดหมาย ครองผ้า แต่งตัว ถวายอดิเรก กล่าวบทอวยพรพระมหากษัตริย์ บิณฑบาต รับของใส่บาตร ปลงอาบัติ แจ้งความผิดให้ทราบ ปัจจัย เงิน ทำวัตร สวดมนต์ เผดียงสงฆ์ แจ้งให้สงฆ์ทราบ สุผ้า ซักผ้า, ย้อมผ้า
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C