วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ลิลิตโองการแช่งน้ำ

ลิลิตโองการแช่งน้ำ

ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในรัชสมัย ของสมเด็จรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นเชื้อสาย
ของพระเจ้าสิริชัยเชียงแสนแห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขย
ของพระยาอู่ทอง เมื่อพ. ศ. ๑๘๘๗ ได้เป็นเจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาเกิดโรคระบาด ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่ตำบลหนองโสน แขวงเมืองอโยธยา เมื่อพ.ศ.๑๘๙๓
ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ่ไม่ขึ้นต่อสุโขทัยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นลิลิต คือมีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายดั้นโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงห้า หรือมณฑกคติวรรณคดีเรื่องนี้ใช้อ่านในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จนถึงพ.ศ.๒๔๗๕

เรื่องย่อ
เริ่มต้นด้วยร่ายโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า
และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลก แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้า
มาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจเป็นพยาย ลงโทษผู้คิดคนทรยศต่อ
พระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ทั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ตอนจบเป็นร่าย
ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระเจ้าแผ่นดิน


ที่มา : ประวัติวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยและอยุธยา ของเสนีย์ วิลาวรรณ

ไม่มีความคิดเห็น: